MasterChef Thailand มาสเตอร์เชฟประเทศไทย Season 3
MasterChef Thailand มาสเตอร์เชฟประเทศไทย Season 3 เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร โดยจะออกอากาศ ทางช่อง 7 HD โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทย ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีกรรมการคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
ตอนที่ 1 : รอบคัดเลือก
- ออกอากาศ 3 กุมภาพันธ์ 2562
- ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 30 คนต้องแสดงทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน วัตถุดิบหลักในการแข่งขันรอบนี้ โดยก่อนหน้านี้ ทางรายการได้ซ่อนรูปผู้เข้าแข่งขัน มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 ใต้ลิ้นชัก และกรรมการสั่งเปิด เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้กับผู้เข้าแข่งขัน เนื่องจากว่าผู้เข้าแข่งขันทุกคนเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมดแล้ว หากผู้เข้าแข่งขันมีความสามารถที่ด้อยกว่าเด็ก ๆ เหล่านี้ สมควรจะละอายใจ และไม่สมควรที่จะยืนอยู่ในมาสเตอร์เชฟคิตเชน โจทย์ในรอบทดสอบความสามารถในฤดูกาลนี้ เป็นโจทย์เดียวกันกับรอบทดสอบความสามารถของมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 คือ ปลาแซลมอน ซึ่งโป็นโจทย์เดียวกันกับการทดสอบความสามารถเด็กผู้หญิง โดยผู้เข้าแข่งขันต้องนำปลาแซลมอนมารังสรรค์เป็นอาหาร ที่ไม่ใช่สเต๊กปลาแซลมอนธรรมดา ๆ โดยทั่วไป และอาหารจานนั้นจะต้องมีความคิดที่สร้างสรรค์ มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 40 นาที และมีเวลาอีก 5 นาที ในการเข้าไปเลือกวัตถุดิบอื่น ๆ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในมาสเตอร์เชฟคิตเชน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน มีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบในรอบแรกจำนวน 15 คน คือ เควส, แมกซ์, ชานนท์, เอก, เตย, ปอนด์, ราม, มาร์ค, จริงจัง, เพิร์ท, นุ้ย, นิว, มาย, กร และลูกเกด โดยผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ คณะกรรมการยังไม่แน่ใจในฝีมือการทำอาหารจึงต้องมาแข่งขันกันอีกครั้งในรอบต่อไป
- ผู้ที่ถูกคัดออก: บูม, ต้น, กอล์ฟ, ฟาง และโฬม
- ทักษะการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 10 คน ต้องมาแข่งขันกันในรอบที่ 2 โดยวัตถุดิบหลักในรอบนี้คือ หอยเชลล์โฮตาเตะ ซึ่งเป็นโจทย์เดียวกันกับการทดสอบความสามารถเด็กผู้ชาย และต้องใช้หอยเชลล์โฮตาเตะเพียงคนละ 3 ตัว โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 40 นาที โดยอาหารที่ทำออกมานั้นต้องไม่ใช่แค่สเต๊กธรรมดา ต้องรังสรรค์อาหารออกมาให้ดีกว่าเมนูของเด็ก ๆ ผู้เข้าแข่งขันมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขัน โดยคิวและกรถูกคัดออกในขณะที่อยู่ในช่วงนำอาหารไปให้คณะกรรมการชิม เนื่องจากว่าหอยเชลล์โฮตาเตะไม่สมบูรณ์แบบและยังไม่เหมาะสมกับการเป็นมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ทั้งคู่ และคณะกรรมการก็ได้ตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบอีก 4 คน คือ โรเบิร์ต, เป่าเป้, บอล และจีโน่ และทำให้ได้ผู้เข้าแข่งขัน 19 คนสุดท้ายอย่างเป็นทางการ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: คิว, กร, มะปราง, องุ่น, ปันปัน และอาร์ม
ตอนที่ 2 : การทำอาหารจากทุเรียน และการทำอาหารจากขาหมู (คากิ)
- ออกอากาศ 10 กุมภาพันธ์ 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ ทุเรียน ทุเรียนคือราชาผลไม้ไทย ด้วยเนื้อที่มีความนุ่มละมุน รสชาติหวานมัน และมีกลิ่นเฉพาะตัว ยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องปอกทุเรียนด้วยตัวเอง ผู้เข้าแข่งขันต้องนำทุเรียนพันธ์หมอนทองมาสร้างสรรค์เป็นจานอาหารที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรือของหวาน และยังมีวัตถุดิบเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันอย่างจำกัดเท่ากัน ประกอบไปด้วยกุ้งลายเสือ, เบคอน, ข้าวรีซอตโต, แป้งเค้ก, แป้งอเนกประสงค์, มิกซ์เบอร์รี, ดอกไม้กินได้, ครีมชีส, มอซซาเรลลา, ช็อกโกแลต, อบเชย และพริกแห้ง โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, โรเบิร์ต และเตย โดยเตยก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และทั้งสามคนยังได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน นอกจากนี้ผู้เข้าแข่งที่เหลือก็ได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปทันที ยกเว้นคนที่ตกเป็นหกอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์ คือ เพิร์ท, นุ้ย, มาย, ลูกเกด, ราม และกร ต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เตย
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่เพิร์ท, นุ้ย, มาย, ลูกเกด, ราม และกร ตกเป็นหกอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์ จึงต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยโจทย์ในรอบนี้คือ ขาหมู (คากิ) โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียงสามคนเท่านั้นที่ได้ผ่านเข้ารอบ และในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที โดยหลังจากกรรมการได้อาหารของผู้เข้าแข่งขันทั้งหกคน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผ่านเข้ารอบต่อไปคือ เพิร์ท, ราม และลูกเกด จากการที่เตยเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ช่วยเพื่อนผู้เข้าแข่งขันให้ผ่านเข้ารอบไปด้วยอีกหนึ่งคน โดยเตยได้เลือกให้นุ้ยได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไป และคนที่ต้องถอดผ้ากันเปื้อนและออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ มายและกร
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: นุ้ย, มาย และกร
- ผู้ที่ถูกคัดออก: มายและกร
ตอนที่ 3 : การทำอาหารไทยพื้นบ้าน
- ออกอากาศ 17 กุมภาพันธ์ 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ เตย ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เตย | เพิร์ท, ชานนท์, นุ้ย, บอล, เควส, ลูกเกด, จีโน่ และเป่าเป้ |
โรเบิร์ต | ราม, มาร์ค, เอก, ปอนด์, นิว, แมกซ์ และจริงจัง |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งแรกของผู้เข้าแข่งขันในซีซั่นที่ 3 ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่หน้าศาลากลางหลังเก่าจังหวัดนนทบุรี ซึ่งสร้างติดอยู่กับริมแม่น้ำเจ้าพระยา และบททดสอบในรอบนี้คือ การทำอาหารให้พี่ ๆ คนขับเรือหางยาวจำนวน 201 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับอาหารไทยพื้นบ้าน ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารคาว 4 อย่าง และอาหารหวานอีก 1 อย่าง นำเสนอในรูปแบบเบนโตะสไตล์ที่ทันสมัยรวมทั้งสิ้นจำนวน 5 เมนู มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 90 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “ต้มยำไก่บ้าน, น้ำพริกอ่อง, เนื้อทอด, ยำหัวปลี และมูสข้าวเหนียวกับซอสมะม่วง” เมนูของทีมสีแดงคือ “ไก่บ้านทอดสมุนไพร, เขียวหวานเนื้อ, น้ำพริกผักชี, ข้าวมันเผือก และผลไม้ลอยแก้วโมจิโต” โดยผลจากการตัดสิน ทีมสีน้ำเงินได้คะแนนไป 78 คะแนน ส่วนสีแดงได้ไป 123 คะแนน
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ ปลาดุกฟู ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านโบราณที่มีมามากกว่า 100 ปี เป็นอาหารที่นิยมกันมากทั้งในวังและนอกวัง สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ เนื้อปลาดุกฟูต้องเป็นเนื้อปลาล้วน ๆ โดยไม่มีแป้ง และปลาดุกฟูต้องเกาะกันเป็นแพ มีสีเหลืองทองสวยงาม จะต้องทอดปลาดุกฟูให้กรอบและไม่อมน้ำมัน และต้องเสิร์ฟคู่กับยำมะม่วงที่มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม หวาน ไม่โดดไปทางใดทางหนึ่ง มีเวลา 50 นาที ในการทำอาหาร หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน สามอันดับอาหารที่แย่ที่สุดคือ เอก, โรเบิร์ต และจริงจัง และคนที่ถูกตัดออกจากการแข่งขัน คือ จริงจัง
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: โรเบิร์ต, เอก และจริงจัง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: จริงจัง
ตอนที่ 4 : การทำอาหารจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัว
- ออกอากาศ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัว ซึ่งเนื้อวัวเป็นวัตถุดิบที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของวัว สามารถนำไปรังสรรค์อาหารได้หลากหลาย โดยครั้งนี้ได้มีการเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัวไว้ 18 กล่อง โดยในแต่ละกล่องจะมีชิ้นส่วนของวัวที่แตกต่างกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาสุ่มเลือกไปคนละหนึ่งกล่อง โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าข้างในเป็นชิ้นส่วนใดของวัว ครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องเข้าไปเลือกวัตถุดิบเสริมมาก่อน โดยที่ยังไม่รู้ว่าวัตถุดิบหลักในกล่องคืออะไร ชิ้นส่วนของวัวในแต่ละกล่องประกอบไปด้วย เนื้อสันใน, เนื้อสันนอก, ทีโบน, เนื้อน่อง, ผ้าขี้ริ้ว, หาง, เลือด และอัณฑะ มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, บอล และจีโน่ โดยบอลก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: บอล
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ บอล ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันจากชิ้นส่วนของวัวที่เหลืออยู่อีกสองกล่องคือ ไส้และลิ้นของวัว โดยบอลได้เลือกไส้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร และสิทธิพิเศษอีกหนึ่งอย่างคือ สามารถกำหนดเวลาในการทำอาหารให้เพื่อน ๆ ได้ โดยมี 60, 45 และ 30 นาที โดยในรอบแรกมีเวลา 60 นาที บอลได้เลือกเตย, นิว, นุ้ย, เพิร์ท และจีโน่ ในรอบที่สองมีเวลา 45 นาที ได้เลือกเควส, แมกซ์, ชานนท์, ราม และมาร์ค ในรอบที่สามมีเวลา 30 นาที ได้เลือกเอก, โรเบิร์ต, ปอนด์, ลูกเกด และเป่าเป้ แต่ในท้ายที่สุด 5 คนที่ได้เวลา 30 นาที ก็ได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบไปเลยโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ จีโน่ และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ นิว, มาร์ค และราม โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ราม
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: นิว, มาร์ค และราม
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ราม
ตอนที่ 5 : การทำอาหารจากอาหารกระป๋อง และการทำอาหารจากปลากระเบน
- ออกอากาศ 3 มีนาคม 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ อาหารกระป๋อง ซึ่งอาหารกระป๋องเป็นวัตถุดิบที่ทุกบ้านต้องมีไว้ใช้ในการปรุงอาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้อาหารกระป๋องเป็นที่นิยม โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำอาหารกระป๋องทั้ง 24 กระป๋อง มายกระดับทำเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับเสิร์ฟในภัตตาคารชั้นหรู จากที่จีโน่เป็นผู้ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ในครั้งก่อน จึงได้รับสิทธิ์ในการยึดอาหารกระป๋องจากผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งจำนวน 10 กระป๋อง โดยจีโน่ได้เลือกยึดอาหารของบอลไป ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ แมกซ์, เควส และเป่าเป้ โดยเควสก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เควส
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ เควส ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ และมีสิทธิพิเศษอีกหนึ่งอย่างคือสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขัน 7 คน ที่เควสต้องการกำจัดมาแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยเควสได้เลือกบอล, เอก, โรเบิร์ต, ปอนด์, ชานนท์, มาร์ค และเพิร์ท ทำให้ทั้งเจ็ดคนต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ส่วนเตย, เป่าเป้, นิว, นุ้ย, จีโน่ และแมกซ์ ได้ผ่านเข้ารอบไปเลยโดยไม่ต้องแข่งขัน โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ ปลากระเบน วัตถุดิบชนิดนี้เป็นวัตถุที่มีเนื้อสัมผัสเฉพาะตัว เนื้อจะติดกับกระดูกอ่อน และเนื้อส่วนลำตัวค่อนข้างเหนียว ผู้เข้าแข่งขันต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการรังสรรค์ปลากระเบนออกมาให้เป็นเมนูที่ดีที่สุด โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ มาร์ค และบอลเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ โรเบิร์ตและเพิร์ท โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เพิร์ท
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: โรเบิร์ตและเพิร์ท
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เพิร์ท
ตอนที่ 6 : การปรุงอาหารจากน้ำมันเมล็ดชา
- ออกอากาศ 10 มีนาคม 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ มาร์ค และบอลที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ในครั้งนี้หลังจากหัวหน้าทีมได้เลือกลูกทีมครบแล้ว คณะกรรมการก็ได้สับเปลี่ยนหัวหน้าทีมกัน
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
มาร์ค | เควส, โรเบิร์ต, ปอนด์, จีโน่, แมกซ์ และนุ้ย |
บอล | นิว, เป่าเป้, เตย, เอก, ลูกเกด และชานนท์ |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่สอง ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นอีกโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา และโจทย์ในการทำอาหารวันนี้คือ ปรุงอาหารมื้อกลางวันจากน้ำมันเมล็ดชา อาหารคาว 1 อย่าง และอาหารหวานอีก 1 อย่าง ให้แก่เด็กอายุ 7-10 ปี จำนวน 302 คน ใช้วัตถุดิบเป็นผักทั้งหมด นอกจากนี้ยังมี ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมด้วยคณะ 11 ท่าน มาเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 120 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “พาสต้าแคร์รอตซอสโบโลเนสเห็ดกับกัวกาโมเลและฟ้กทองทอด” ส่วนของหวานคือ “โมจิช็อกโกแลตแห้วซุปถั่วแดง” เมนูของทีมสีแดงคือ “ญ็อคคี ซอสเปรี้ยวหวานกับเฟรนซ์ฟรายมะเขือม่วง” ส่วนของหวานคือ “บัวลอยแอโวคาโดนมสด” โดยผลจากคณะกรรมการและน้อง ๆ นักเรียนได้ลงคะแนน เป็นฝ่ายทีมสีแดงที่ชนะไปด้วย 163 คะแนน ส่วนสีน้ำเงินได้ไป 150 คะแนน
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยบอลซึ่งเป็นหัวหน้าทีมสีแดงที่เป็นผู้ชนะในรอบบดทดสอบภารกิจแบบทีม สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันในทีมสีน้ำเงิน ให้ผ่านเข้ารอบไปเลย 3 คน โดยบอลได้เลือกนุ้ย โรเบิร์ต และจีโน่ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ ซูเฟลราสป์เบอร์รี โดยซูเฟลที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เมื่ออบเสร็จเรียบร้อยซูเฟลต้องตั้งตรงสวยงาม เนื้อสัมผัสของซูเฟลด้านนอกต้องนุ่มและกรอบ ส่วนเนื้อด้านในเมื่อตักลงไปต้องนุ่มไม่แข็ง และเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วเนื้อซูเฟลต้องละลายในปาก โดยขนมชนิดนี้เมื่ออบเสร็จแล้วต้องเสิร์ฟภายใน 5 นาที มิฉะนั้นซูเฟลจะยุบตัว มีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ มาร์คและแมกซ์ ซึ่งทำซูเฟลไม่สุกทั้งสองคน โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ มาร์ค
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: มาร์คและแมกซ์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: มาร์ค
ตอนที่ 7 : การทำอาหารจากวัตถุดิบจากญี่ปุ่น และการทำของหวาน
- ออกอากาศ 17 มีนาคม 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ วัตถุดิบจากญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยหัววาซาบิสด, มิโซะ, ปลาโอแห้ง, สาหร่าย, ถั่วแระญี่ปุ่น, ต้นหอมญี่ปุ่น, น้ำส้มยูซึ, ไข่ปลาแซลมอน, มันม่วง, เส้นโซบะ, สตอเบอรีอะมะโอะ, เห็ดซิเมจิ, กระเจี๊ยบ, ปลาไข่สิซะมาโอะ และล็อบเตอร์ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 13 คน จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการรังสรรค์อาหารอาหารออกมา โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 4 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, ลูกเกด, ปอนด์ และชานนท์ โดยปอนด์ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: ปอนด์
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ ปอนด์ ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ ของหวาน วัตถุดิบในการทำของหวานมีสามอย่างประกอบไปด้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, มะพร้าว และมะระ โดยปอนด์มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบในการทำของหวานให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยปอนด์ได้เลือกผลไม้ตระกูลเบอร์รีให้เป่าเป้, บอล, แมกซ์ และโรเบิร์ต เลือกมะพร้าวให้ลูกเกด, นิว, นุ้ย และชานนท์ และเลือกมะระให้เตย, เอก, เควส และจีโน่ โดยมีเวลาในการทำของหวานจำนวน 90 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมของหวานของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ เตย และเควสเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ ลูกเกด, จีโน่ และนุ้ย โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ นุ้ย
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ลูกเกด, จีโน่ และนุ้ย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: นุ้ย